5 โรคพืช ระบาดในน้าฝน

 

5  โรคพืช ระบาดในหน้าฝน  เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย เนื่องจากปริมาณน้ำที่มากขึ้น และความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น สิ่งที่ตามมาด้วยแบบไม่ได้ตั้งใจนั่นก็คือโรคพืชต่างๆ ทำให้เกษตรกรปวดหัวไม่น้อยจะมีโรคอะไรบ้างนั้น เราไปดูกันที่ละโรคกันเลยครับ


1. โรคราน้ำค้าง


เป็นโรคที่จะทำให้ใบเป็นจุดละเอียดสีดำอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ด้านใต้ใบ ตรงจุดเหล่านี้จะมีราสีขาวอมเทาอ่อนคล้ายผงแป้งขึ้นเป็นกลุ่มๆ กระจายทั่วไป ใบที่อยู่ตอนล่างๆ จะมีแผลเกิดก่อนแล้วลุกลามขึ้นไปยังใบที่อยู่สูงกว่า ใบที่มีเชื้อราขึ้นเป็นกลุ่มกระจายเต็มใบจะมีลักษณะเหลืองและใบจะร่วงหรือแห้ง ในเวลาที่อากาศไม่ชื้นจะไม่พบผงแป้งและแผลแห้งเป็นสีเทาดำ

การระบาด

  • โรคนี้ระบาดได้ทั้งแต่ระยะที่เป็นต้นกล้าจนเจริญเติบโตเต็มที่ ซึ่งจะทำความเสียหายมากเพราะทำให้ใบเสียมากและเจริญเติบโตช้า โรคนี้ไม่ทำให้ต้นตาย แต่ทำให้น้ำหนักลดลง เพราะต้องตัดใบที่เป็นโรคทิ้ง ทำให้ได้น้ำหนักน้อยลง

การป้องกันกำจัด

  • ให้ฉีดพ่นด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไซแน็บ , มาแน็บ , เบนเลท , ไดโฟลาแทน , เบนโนมิล, ดาโคนิล, แคปแทน หรือยาชนิดอื่นๆ ที่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ แต่สารประกอบทองแดงไม่ควรใช้ในระยะที่ยังเป็นต้นกล้า เพราะจะเป็นพิษต่อต้นกล้า


2. โรครากเน่า โคนเน่า


เป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะในแปลงต้นกล้าเท่านั้น เนื่องจากการหว่านเมล็ดที่แน่นทึบ อับลม และต้นเบียดกันมาก ถ้าในแปลงมีเชื้อโรคแล้วต้นกล้าจะเกิดอาการเป็นแผลช้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลจะเน่าและแห้งไปอย่างรวดเร็ว ถ้าถูกแสงแดดทำให้ต้นกล้าหักพับ ต้นเหี่ยวแห้งตายในเวลารวดเร็ว

การระบาด 

  • เชื้อราติดมากับเมล็ด หรืออยู่ในดินดิน น้ำ ฝน พบโรคได้บ่อยในฤดูฝนหรือปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว

การป้องกันกำจัด

  • เตรียมแปลงให้มีการระบายน้ำดี อย่าให้น้ำขังแฉะในแปลง
  • ใช้เมล็ดพันธุ์ดีจากแหล่งที่ไม่มีการระบาดของโรค ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ติดมากับเมล็ด และมีความงอกสูง และไม่หว่านเมล็ดแน่นเกินไป
  • หมั่นตรวจแปลง พบต้นเป็นโรครีบขุดเอาดินและต้นเป็นโรคทำลายหรือฝังลึกนอกแปลงเปิดหน้าดินตากแดดหลายๆ แดด

3. โรคใบจุด


เป็นโรคที่เกิดเกิดกับต้นกล้าจะพบจุดแผลเล็กๆสีน้ำตาลที่บริเวณใบ โคนต้น ถ้าต้นโตแล้ว ใบมีแผลวงกลมสีน้ำตาลซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อรอบๆ แผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขนาดของแผลมีทั้งเล็กและใหญ่ บนแผลมักจะมีเชื้อราชั้นบางๆ มองเห็นเป็นผงสีดำ ผักบางชนิดและบางพันธุ์มีแผลที่ก้านใบเล็ก เป็นจุดสีน้ำตาล ปนดำ เนื้อเยื่อบุ๋มลงไปเล็กน้อย การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก ในที่บางแห่งก็เคยพบว่ามีแผลวงกลมบนฝักอ่อนด้วย ทำให้ฝักอ่อนแห้งเป็นสีน้ำตาล เมล็ดลีบย่น ใบแก่ที่อยู่ตอนล่างมักจะเป็นโรคมากกว่า

การระบาด

  • สปอร์ของเชื้อสาเหตุสามารถปลิวไปได้ไกลๆโดยไปตามน้ำ ลม แมลง สัตว์ เครื่องมือการเกษตร มนุษย์ และสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ ได้หรืออาศัยอยู่กับวัชพืชในแปลง

การป้องกันกำจัด

  • ทำลายต้นเป็นโรคโดยการขุดถอนไปเผาทิ้ง
  • ปลูกพืชหมุนเวียน
  • ไม่ควรให้น้ำแบบฉีดพ่นฝอย
  • แช่เมล็ดในน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที (ยกเว้นกะหล่ำดอก) คลุกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชก่อนปลูก
  • การฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราอยู่เสมอๆ

4. โรคราสนิมขาวในผัก


โรคนี้จะทำให้มีจุดสีเหลืองซีดด้านบนของใบ ด้านใต้ใบตรงกันข้ามจะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ขนาด 1-2 มิลลิเมตร อาจพบลักษณะปุ่มปม หรือบวมพองโตขึ้นในส่วนของก้านใบและลำต้น

การป้องกันกำจัด

  • เมื่อมีโรคระบาดให้ฉีดพ่นใต้ใบด้วย เมตาแล็กซิล (metalaxyl) สลับกับแมนโคเซ็บ(mancozeb) ตามอัตราที่แนะนำบนฉลาก หากมีฝนตกชุกให้ผสมสารจับใบ
  • คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วย เมตาแล็กซิล (metalaxyl) และเลือกใช้เมล็ดจากแหล่งที่ไม่มีโรคระบาดมาก่อน
  • ดูแลระบบการให้น้ำในแปลงปลูก อย่าให้ชื้นแฉะจนเกินไป

5. โรคเหี่ยว



เกิดอาการเหี่ยวอย่างช้า ๆ ใบที่อยู่โคนต้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และร่วง ต่อมาใบจะเหี่ยวทั้งต้น เมื่อผ่าลำต้นบริเวณเหนือระดับดินตามยาวจะพบว่าท่อน้ำท่ออาหารเป็นสีน้ำตาล การผิดปกติของท่อน้ำท่ออาหารนี้จะลงไปถึงส่วนรากด้วย พริกที่เป็นโรคนี้ขั้นสุดท้ายจะแห้งตาย

การระบาด

  • การเกิดโรคนี้มักจะเกิดเป็นหย่อม ๆ ถ้าสภาพอากาศมีอุณหภูมิสูง และดินมีความชื้นสูง จะทำให้โรคนี้ระบาดได้ดี 

การป้องกันกำจัด

  • ถ้าพบโรคในแปลงต้องถอนต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย
  • ก่อนปลูกพริกควรปรับสภาพดินด้วยปูนขาว และปุ๋ยคอก

ไม่ต้องกังวลนะครับ 5 โรคพืช ระบาดในน้าฝน  จะหมดไปถ้าท่านใช้  สารคุมโรค ยับยั้งเชื้อราและไวรัส ฟาร์มเมอร์มีฝาแดง  เป็นสารชีวภาพที่ยับยั้งเชื้อรา ในพืชทุกชนิด หยุดการขยายตัวของไวรัส แบคทีเรีย รากเน่า โคนเน่า ใบจุด ราสนิม ราน้ำค้าง ใบแห้ง ใบด่าง ใบไหม้ เชื้อรา ในลำต้นกิ่งก้านใบ กุ้งแห้งในพริก แก้อาการใบแก้ว ใบลายในส้ม ลดการหลุดล่วง ของดอก และผลอ่อน


วิธีการใช้

  •  ควรพ่นให้เป็นละออง เล็ก ๆ พอเปียก ทั้งใบ และ ทุก ๆ ส่วนของพืช
อัตราการใช้
  •  20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สำหรับ ฉีดป้องกัน เดือน ละ 1 – 2 ครั้ง 
  •  30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สำหรับพืช ที่ติดโรค ฉีดพ่น ทุก ๆ 7 วัน



ความคิดเห็น